วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

4. การใช้บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลก สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท

4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)

เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับ ส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น แนบไฟล์ได้อีกด้วย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับ เช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่ เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
  สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้

                                               


เมื่อผู้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ (mail sever) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน
รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้

1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นบริการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยบริการที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

 
                                       ตัวอย่างเว็บเมลของต่างประเทศที่ได้รับความนิยม




2) พ็อปเมล (POP Mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพ็อปเมลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Outlook, Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น

4.2 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล

การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocal : FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครืองลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่า เครื่องปลายทาง (remote host) โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งาน โปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่อง หรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำงาน  2 ลักษณะ คือ
1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)








                                      หลักการทำงานของการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล

การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ  ได้แก่
1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบให้ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP  CuteFTP เป็นต้น
2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser

การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต (usenet) บล็อก (blog) เป็นต้น

1) ยูสเน็ต (usenet) เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่อยู่ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้ และยังสามารถขอความคิดเห็น หรือร่วมแสดงความคิดเห็น สอบถามปัญหา หรือตอบปัญหาของผู้อื่นที่ถามมาในกลุ่มหัวข้อนั้น ๆ สำหรับูสเน็ตในเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้มีการจัดแบ่งกลุ่มหัวข้อต่าง ๆ เช่น กลุ่มการเมือง กลุ่มเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มดนตรี กลุ่มศิลปะ กลุ่มกีฬา เป็นต้น ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ต้องการอ่านข่าวสารในนกลุ่มหัวข้อนั้นอีก ก็สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscribe) ของกลุ่มหัวข้อนั้นได้

2) บล็อก(blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสารโดยจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อก อาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกัน จนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ซึ่งผู้ใช้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ และสามารถอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาได้ โดยข้อมูลหรือความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือมัลติมีเดีย ทั้งนี้ผู้เขียน (blogger) ต้องพึงระวังการเขียนข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทยั่วยุให้ผู้อื่นทำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันบล็อกที่นิยมใช้ในประเทศไทบมีหลายเว็บไซต์ เช่น Hi5, Facebook, Wikipedia, Youtube เป็นต้น















                                                                   ตัวอย่างบล็อก











4.4 การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต

การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตมี 2 รูปแบบ ดังนี้

1) การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซอร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสงดบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่าง ๆ ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการนี้ เช่น www.sanook.com www.pantip.com เป็นต้น


2) การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging) ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่น ๆได้โดยตรง การสนทนาทำได้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชันและลูกเล่นต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่   MSN Messenger , AOL Instant Messenger, Yahoo Messenger, Google Talk, NET Messenger Service, Jabber , และSkype





4.5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

การค้นหาข้อมูลในอดีตนักเรียนจะต้องเดินทางไปห้องสมุด เพื่อหาหนังสือที่เกี่ยวข้องแต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตซึ่งแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือห้องสมุดหลายแห่งทั่วโลกที่เชื่่อมโยงกัน ดังนั้น การสืบค้นข้อมูลจึงทำได้สะดวกขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่นักเรียนจะต้องคำนึงถึง คือการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น อาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรืออาจพบแต่เป็นเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย โดยวิธีที่ดีที่สุดคือ การสืบต้นข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site) ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดังนี้

1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (seach engine) เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าวและอื่น ๆ โปรแกรมการค้นหาส่วนใหญ่จะค้นหาข้อจากคำสำคัญ (keywords) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป และจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหาที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น www.google.com,www.bing.com, www.seach.com เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น