การติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตโดยใช้โพรโตคอลทีซีพี/ไอพี
อินเตอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet-Switching Network) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนดโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง
การส่งข้อมูลแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง
หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิต เท่า ๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยากถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำ เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน ดังนี้
โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่าง ๆ ดังนี้
1. โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain Name) จะบอกถึงองค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเภทขององค์กร
ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร
2. โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกประเภทขององค์กร
ตัวอย่างโดเมนย่อยในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น